วันอังคารที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

QR CODE

การสร้างและใช้งาน QR CODE


QR Code ย่อมาจากคำว่า Quick Response Code ถูกคิดค้นขึ้นในปี 1994 โดยบริษัท Denso-Wave ประเทศญี่ปุ่น  QR Code มีประโยชน์มาก สามารถนำมาใช้ได้หลากหลายเช่น  แสดงURL ของเว็บไซต์ข้อความเบอร์โทรศัพท์ และข้อมูลที่เป็นตัวอักษร ที่นิยมกันส่วนใหญ่คือนำเอามาใช้เก็บ URL ของเว็บไซต์ เพื่อความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลผ่านมือถือสมาร์ทโฟน (รุ่นที่มีกล้อง) ด้วยการสแกนรูป QR Code ก็สามารถเข้าสู่เว็บไชต์ได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่ต้องพิมพ์ URL อีกอย่างที่เราสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้คือ การสื่อสารในลักษณะของจดหมายล่องหน ซึ่งสายลับใช้กัน  เรียกว่าการเข้ารหัสนั่นเอง ซึ่งต้องผ่านตัวกลางในการแปรจึงจะอ่านและเข้าใจได้ เช่น เราต้องการสื่อสารกับเพื่อนของเรา แทนที่เราจะเขียนหรือพิมพ์ตัวหนังสือ ซึ่งใครเห็นแว็บเดียวก็พอจะเดาได้ แต่เราใช้การสื่อสารด้วย  QR CODE แทน ผู้อ่านต้องใช้โทรศัพท์ที่มีโปรแกรมอ่านจึงจะอ่านข้อความได้  อีกอย่างหนึ่งคือเราสามารถสร้าง QR CODE สำหรับข้อมูลส่วนตัวของเราได้ เช่น ชื่อ เบอร์โทรศัพท์  บัญชี Email  บัญชี facebook  ซึ่งเมื่อผู้รับอ่านด้วยการสแกนจากโทรศัพท์สมาร์ทโฟนแล้ว จะแสดงข้อมูลพร้อมสำหรับการบันทึกลงเครื่องทันที ซึ่งสะดวกมาก ๆ 


                        วิธีการใช้งาน

สำหรับการอ่านเพื่อใช้งาน เราต้องใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟน ที่มีกล้องและสามารถติดตั้งแอพพลิเคชั่นเองได้ จากนั้นไปโหลด Application สำหรับ ระบบ android  หรือ  ios ที่ชื่อว่า qr code reader  หรืออะไรประมาณนี้  ถ้าเป็น android ขอแนะนำตัวที่ใช้งานง่ายมาก  ๆ คือ QR Code Reader  ตัวนี้เลยครับ  ถูกใจใช้งานง่าย  หรือใครที่ชอบทดลองก็ลองโหลดตัวอื่นมาใช้ก็ได้นะครับ บางตัวสามารถสแกนได้ทั้ง Bar Code และ QR Code เลยทีเดียว

 






















สำหรับใครที่ใช้ ระบบ  ios  ตัองตัวนี้ครับ



สแกนได้ทั้ง Bar Code และ QR Code เลยทีเดียว
วิธีการใช้งานก็ง่ายมาก อย่างที่บอก คือเปิดโปรแกรม จะปรากฏกรอบสำหรับการกำหนดพื้นที่การอ่าน นำไปครอบตรง QR Code หรือ Bar Code กรอบจะเปลี่ยนสีเป็นสีเขียว แสดงว่าอ่านแล้ว  ดูผลการแปลได้เลยครับ

G-Drive






























วันพุธที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ความหมายของคอมพิวเตอร์




คอมพิวเตอร์ (Computer) เป็นอุปกรณ์ทางไฟฟ้าชนิดหนึ่งที่สามารถจำข้อมูลต่าง ๆ ได้ สามารถคิดคำนวณตัวเลข สามารถตอบสนองการกระทำของผู้ใช้ได้ และมีความสามารถในการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ไฟฟ้าบางชนิด เพื่อสั่งให้อุปกรณ์ไฟฟ้าเหล่านั้นทำงานตรมคำสั่งได้


คอมพิวเตอร์ (Computer) (ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525) หมายถึง "เครื่องอีเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เสมือนสมองกล ใช้สำหรับแก้ปัญหาต่าง ๆ ทั้งที่ง่ายและซับซ้อน โดยวิธีทางคณิตศาสตร์"



ระบบคอมพิวเตอร์ (Computer System)


ระบบ (System) คือกลุ่มขององค์ประกอบที่มีความสัมพันธ์กันและทำงานร่วมกัน ซึ่งระบบคอมพิวเตอร์จะมีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ส่วน คือ
  1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
  2. ซอฟต์แวร์ (Software)
  3. บุคลากร (Peopleware)

ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เป็นตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ แบ่งออกเป็นส่วนประกอบดังนี้    หน่วยรับข้อมูล  หน่วยประมวลผล   หน่วยแสดงผล


1. หน่วยรับข้อมูล (Input unit) เป็นอุปกรณ์รับเข้า ทำหน้าที่รับโปรแกรมและข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์รับเข้าที่ใช้กันเป็นส่วนใหญ่ คือ แป้นพิมพ์ ( Keyboard ) และเมาส์ ( Mouse)  นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์รับเข้าอื่น ๆ อีก ได้แก่ สแกนเนอร์ ( Scanner), วีดีโอคาเมรา (Video Camera), ไมโครโฟน (Microphone),ทัชสกรีน (Touch screen), แทร็คบอล (Trackball), ดิจิตเซอร์ เทเบิ้ล แอนด์ ครอสแชร์ (Digiter tablet and crosshair)
.................................................................................................................................................
2. หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit) หรือเรียกโดยทั่ว ๆ ไปว่า CPU ซึ่งถือว่าเป็นสมองของระบบคอมพิวเตอร์ มีส่วนประกอบที่สำคัญ 2 ส่วน คือ หน่วยควบคุม หน่วยคำนวณ
  1. หน่วยควบคุม (Control Unit หรือ CU) ทำหน้าที่ควบคุมลำดับขั้นตอนการทำงานของหน่วยรับข้อมูล หน่วยแสดงผล หน่วยคำนวณและหน่วยตรรก หน่วยความจำและแปลคำสั่ง
  2. หน่วยคำนวณและตรรก (Arithmetic and Logic Unit หรือ ALU) ทำหน้าที่ในการคำนวณหาตัวเลข เช่น การบวก ลบ การเปรียบเทียบ
  3. หน่วยความจำ เป็นอุปกรณ์ใช้เก็บโปรแกรมและข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผล
.................................................................................................................................................
3. หน่วยความจำ (Primary Storage Section หรือ Memory) เป็นหน่วยความจำที่อยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถติดต่อกับหน่วยงานอื่น ๆ ได้โดยตรง แบ่งออกเป็น 2 ประเภท



  •     3.1 หน่วยความจำภายใน

               - หน่วยความจำแบบแรม (Random Access Memory หรือ Ram) เป็นหน่วยความจำชั่วคราว ที่ใช้สำหรับเก็บโปรแกรมที่กำลังใช้งานอยู่ขณะนั้น มีความจุของหน่วยเก็บข้อมูลไม่เกิน 640 KB คือผู้ใช้สามารถเขียนหรือลบไปได้ตลอดเวลา ถ้าหากปิดเครื่องคอมพิวเตอร์หรือไฟฟ้าดับ จะมีผลทำให้ข้อมูลต่าง ๆ ที่เก็บไว้สูญหายไปหมด และไม่สามารถเรียกกลับคืนมาได้
               - หน่วยความจำแบบรอม (Read Only Memory หรือ Rom) เป็นหน่วยความจำถาวร ที่สามารถอ่านได้อย่างเดียว ไม่สามารถบันทึกข้อมูลได้ ถึงแม้ว่าจะปิดเครื่องหรือไฟฟ้าดับ ข้อมูลที่เก็บไว้จะยังคงอยู่

        3.2. หน่วยความจำสำรอง ได้แก่ เทปแม่เหล็ก จานแม่เหล็ก แผ่นดิสก์ (Diskett) CD-ROM
    และ Flashdrive

                แผ่นดิสก์หรือสเกต ( Floppy Disk/Diskett )เป็นจานแม่เหล็กขนาดเล็ก ชนิดอ่อน จัดเก็บข้อมูลโดยใช้อำนาจแม่เหล็ก การใช้งานจะต้องมี Disk Drive เพื่อใช้เป็นอุปกรณ์ในการขับเคลื่อนแผ่นดิสก์ โดยแบ่งตำแหน่งพื้นผิวออกเป็น แทร็คและเซ็คเตอร์ แบ่งออกเป็น 3 ขนาด คือ
    1. แผ่นดิสก์ขนาด 8 นิ้ว ปัจจุบันไม่นิยมใช้
    2. แผ่นดิสก์ขนาด 5.25 นิ้ว แบ่งออกเป็น DD สามรถบันทึกข้อมูลได้ประมาณ 360 KB และ HD สามารถบันทึกข้อมูลได้ 1.2 MB
    3. แผ่นดิสก์ขนาด 3.5 นิ้ว แบ่งออกเป็น DD สามารถบันทึกข้อมูลได้ประมาณ 720 KB และ HD สามารถบันทึกข้อมูลได้ 1.44 MB นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน
                                                            
    ขนาด 5.25 นิ้ว                         ขนาด1.44 MB


    หน่วยวัดความจุของข้อมูลในคอมพิวเตอร์
      8 Bit 
    1 Byte
    1 Byte1 ตัวอักษร
    1 KB  1,024 Byte
    1 MB 1,024 KB
    1 GB 1,024 MB
    1 TB  1,024 GB
        
              หน่วยความจำต่ำสุด คือ บิต (BIT [Binary Digit]) 
    โดยใช้บิตแทน 1 ตัวอักขระ หรือ 1 ไบต์ (Bite) 
    หน่วยที่ใหญ่ขึ้นมาอีกหน่วย คือ กิโลไบต์ (Kilobyte) โดยที่ 1 กิโลไบต์ มีค่าเท่ากับ 2 10 ไบต์ หรือ 1,024 ไบต์ หน่วยความจำที่ใหญ่ขึ้นไปอีก เรียกว่า เมกะไบต์ กิกะไบต์ และเทระไบต์

    ฮาร์ดดิสก์ ( Hard Disk ) เป็นจานแม่เหล็กชนิดแข็ง ชนิดติดแน่นไม่มีการเคลื่อนที่ สามารถบรรจุข้อมูลได้จำนวนมาก เป็น 2 ขนาด คือ                
                 1.  ขนาด 5.25 นิ้ว (ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว)
                 2.  ขนาด 3.5 นิ้ว
       ทั้ง 2 ขนาดจะมีความจุ ตั้งแต่ 10,20,40,80,120,300,400 MB

                      1 GB,2 GB ฯลฯ ปัจจุบันนิยมใช้ตั้งแต่ 10 GB ขึ้นไป


     Hard disk

    Data Rate หมายถึง ความเร็วในการอ่านข้อมูลจากดิสก์ไปสู่สมองของเครื่องคอมพิวเตอร์ (หรือมีความเร็วในการนำข้อมูลมาจากสมองเครื่องไปบันทึกลงบนดิสก์) มีหน่วยวัดเป็น จำนวนไบต์ต่อวินาที ( Bytes Per Second หรือ bps )

    ซีดีรอม (CD-Rom ) เป็นจานแสงชนิดหนึ่ง ใช้เก็บข้อมูลที่มีความเร็วในการใช้งานสูง 
                                      มีคุณสมบัติดังนี้
    • เป็นสื่อที่สามารถเก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมาก โดยจะมีความจุสูงถึง 2 GB (2 พันล้านไบต์)
    • มีขนาดเล็ก สามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก
    • ใช้เทคโนโลยีของแสงเลเซอร์ในการอ่านเขียนข้อมูล
    • เป็นจานแสงชนิดอ่านได้อย่างเดียว ( Read Only Memory ) ไม่สามารถเขียนหรือลบข้อมูลได้
      เครื่องอ่านซีดี  (CD-Rom Drive)

    4.หน่วยแสดงผล (Output Unit) ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือใช้เก็บผลลัพธ์เพื่อนำไปใช้ภายหลัง ได้แก่ จอภาพ (Monitor) เป็นอุปกรณ์ส่งออกมากที่สุด เครื่องพิมพ์ (Printer)



    ซอฟแวร์ (Software) หมายถึง โปรแกรมชุดคำสั่งที่เขียนให้เครื่องคอมพิวเตอร์ปฏิบัติตาม ซึ่งมี 2 ประเภท คือ
    1. ซอฟแวร์ควบคุมระบบ (System Software) คือ ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ เป็นสื่อกลางระหว่างโปรแกรมประยุกต์กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อช่วยในการจัดการทรัพยากรของคอมพิวเตอร์ ได้แก่ โปรแกรมควบคุมเครื่อง ระบบปฏิบัติการ เช่น DOS, Windows, Os/2, Unix
    2. ซอฟแวร์ประยุกต์ (Application Software) คือ ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่เขียนขึ้นมาเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ผู้ใช้ต้องการ ได้แก่ โปรแกรมสำเร็จรูปต่าง ๆ

            บุคลากร (Peopleware) หมายถึง บุคลากรทางคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ในการใช้และดูแลเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น นักเขียนโปรแกรม (Programmer) นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst) เป็นต้น
    ขอขอบคุณข้อมูลดีดีจาก : www.chandra.ac.th/office/ict/document/it/it01/com_06.htm

    วันอังคารที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2557

    ประเภทของคอมพิวเตอร์

    ประเภทของคอมพิวเตอร์ตาม หลักการประมวลผลจำแนกได้เป็น 3 ประเภท คือ

    คอมพิวเตอร์แบบอานาล็อก (Analog Computer)


    หมายถึง เครื่องมือประมวลผลข้อมูลที่อาศัยหลักการวัด (Measuring Principle) ทำงานโดยใช้ข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลงแบบต่อเนื่อง (Continuous Data) แสดงออกมาในลักษณะสัญญาณที่เรียกว่า Analog Signal เครื่องคอมพิวเตอร์ประเภทนี้มักแสดงผลด้วยสเกลหน้าปัทม์ และเข็มชี้ เช่น การวัดค่าความยาว โดยเปรียบเทียบกับสเกลบนไม้บรรทัดการวัดค่าความร้อนจากการขยายตัวของปรอท เปรียบเทียบกับสเกลข้างหลอดแก้ว นอกจากนี้ยังมีตัวอย่างของ Analog Computer ที่ใช้การประมวลผลแบบเป็นขั้นตอน เช่น เครื่องวัดปริมาณการใช้น้ำด้วยมาตรวัดน้ำ ที่เปลี่ยนการไหลของน้ำให้เป็นตัวเลขแสดงปริมาณ อุปกรณ์วัดความเร็วของรถยนต์ในลักษณะเข็มชี้ หรือเครื่องตรวจคลื่นสมองที่แสดงผลเป็นรูปกราฟ เป็นต้น

    คอมพิวเตอร์แบบดิจิทัล (Digital Computer)

    ซึ่ง ก็คือคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการทำงานทั่วๆ ไปนั่นเอง เป็นเครื่องมือประมวลผลข้อมูลที่อาศัยหลักการนับทำงานกับข้อมูลที่มีลักษณะ การเปลี่ยนแปลงแบบไม่ต่อเนื่อง (Discrete Data) ในลักษณะของสัญญาณไฟฟ้า หรือ Digital Signal อาศัยการนับสัญญาณข้อมูลที่เป็นจังหวะด้วยตัวนับ (Counter) ภายใต้ระบบฐานเวลามาตรฐาน ทำให้ผลลัพธ์เป็นที่ น่าเชื่อถือ ทั้งสามารถนับข้อมูลให้ค่าความละเอียดสูง เช่นแสดงผลลัพธ์เป็นทศนิยมได้หลายตำแหน่ง เป็นต้น เนื่องจาก Digital Computer ต้องอาศัยข้อมูลที่เป็นสัญญาณไฟฟ้า (มนุษย์สัมผัสไม่ได้) ทำให้ไม่สามารถรับข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต้นทางได้โดยตรง จึงจำเป็นต้องเปลี่ยนข้อมูลต้นทางที่รับเข้า (Analog Signal) เป็นสัญญาณไฟฟ้า (Digital Signal) เสียก่อน เมื่อประมวลผลเรียบร้อยแล้วจึงเปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้ากลับไปเป็น Analog Signal เพื่อสื่อความหมายกับมนุษย์ต่อไป    โดยส่วนประกอบสำคัญ ที่เรียกว่า ตัวเปลี่ยนสัญญาณข้อมูล (Converter) คอยทำหน้าที่ในการเปลี่ยนรูปแบบของสัญญาณข้อมูล ระหว่าง Digital Signal กับ Analog Signal

    คอมพิวเตอร์แบบลูกผสม (Hybrid Computer)

               เครื่อง ประมวลผลข้อมูลที่อาศัยเทคนิคการทำงานแบบผสมผสาน ระหว่าง Analog Computer และ Digital Computer โดยทั่วไปมักใช้ในงานเฉพาะกิจ โดยเฉพาะงานด้านวิทยาศาสตร์ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ในยานอวกาศ ที่ใช้ Analog  Computer ควบคุมการหมุนของตัวยาน และใช้ Digital Computer ในการคำนวณระยะทาง เป็นต้น
               การทำงานแบบผสมผสาน ของคอมพิวเตอร์ชนิดนี้ ยังคงจำเป็นต้องอาศัยตัวเปลี่ยนสัญญาณ (Converter) เช่นเดิมประเภท ของคอมพิวเตอร์ตามวัตถุประสงค์ของการใช้งานจำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ

    เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่องานเฉพาะกิจ 
    (Special Purpose Computer)

    หมายถึง เครื่องประมวลผลข้อมูลที่ถูกออกแบบตัวเครื่องและโปรแกรมควบคุมให้ทำงานอย่าง ใดอย่างหนึ่งเป็นการเฉพาะ (Inflexible) โดยทั่วไปมักใช้ในงานควบคุมหรืองานอุตสาหกรรมที่เน้นการประมวลผลแบบรวดเร็ว เช่นเครื่องคอมพิวเตอร์ควบคุมสัญญาณไฟจราจร คอมพิวเตอร์ควบคุมลิฟท์หรือคอมพิวเตอร์ควบคุมระบบอัตโนมัติในรถยนต์ เป็นต้น







    เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่องานอเนกประสงค์ 
    (General Purpose Computer)
                 
              หมายถึง เครื่องประมวลผลข้อมูลที่มีความยืดหยุ่นในการทำงาน (Flexible) โดยได้รับการออกแบบให้สามารถประยุกต์ใช้ในงานประเภทต่างๆ ได้โดยสะดวกโดยระบบจะทำงานตามคำสั่งในโปรแกรมที่เขียนขึ้นมาและเมื่อผู้ใช้ ต้องการให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานอะไรก็เพียงแต่ออกคำสั่งเรียกโปรแกรมที่ เหมาะสมเข้ามาใช้งานโดยเราสามารถเก็บโปรแกรมไว้หลายโปรแกรมในเครื่องเดียว กันได้ เช่นในขณะหนึ่งเราอาจใช้เครื่องนี้ในงานประมวลผลเกี่ยวกับระบบบัญชีและในขณะ หนึ่งก็สามารถใช้ในการออกเช็คเงินเดือนได้ เป็นต้น

    ประเภทของคอมพิวเตอร์  ตามความสามารถของระบบ

    จำแนกออกได้เป็น 4 ชนิด โดยพิจารณาจาก ความสามารถในการเก็บข้อมูล และ ความเร็วในการประมวลผล เป็นหลัก ดังนี้

    ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ (Super Computer)


             หมายถึงเครื่องประมวลผลข้อมูลที่มีความ สามารถในการประมวลผลสูงที่สุดโดยทั่วไปสร้างขึ้นเป็นการเฉพาะเพื่องานด้าน วิทยาศาสตร์ที่ต้องการการประมวลผลซับซ้อนและต้องการความเร็วสูง เช่น งานวิจัยขีปนาวุธ งานโครงการอวกาศสหรัฐ (NASA) งานสื่อสารดาวเทียม หรืองานพยากรณ์อากาศ เป็นต้น

    เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe Computer)

               หมายถึงเครื่องประมวลผลข้อมูลที่มีส่วน ความจำและความเร็วน้อยลงสามารถใช้ข้อมูลและคำสั่งของเครื่องรุ่นอื่นใน ตระกูล (Family) เดียวกันได้โดยไม่ต้องดัดแปลงแก้ไขใดๆ นอกจากนั้นยังสามารถทำงานในระบบเครือข่าย (Network) ได้เป็นอย่างดี โดยสามารถเชื่อมต่อไปยังอุปกรณ์ที่เรียกว่า เครื่องปลายทาง (Terminal) จำนวนมากได้ สามารถทำงานได้พร้อมกันหลายงาน (Multi Tasking) และใช้งานได้พร้อมกันหลายคน (Multi User) ปกติเครื่องชนิดนี้นิยมใช้ในธุรกิจขนาดใหญ่มีราคาตั้งแต่สิบล้านบาทไปจนถึง หลายร้อยล้านบาทตัวอย่างของเครื่องเมนเฟรมที่ใช้กันแพร่หลายก็คือ คอมพิวเตอร์ของธนาคารที่เชื่อมต่อไปยังตู้ ATM และสาขาของธนาคารทั่วประเทศนั่นเอง
    เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ จำแนกออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
    1. แบบติดตั้งใช้งานอยู่กับที่บนโต๊ะทำ งาน (Desktop Computer)
    2. แบบเคลื่อนย้ายได้ (Portable Computer) สามารถพกพาติดตัวอาศัยพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่จากภายนอก ส่วนใหญ่มักเรียกตามลักษณะของการใช้งานว่า Laptop Computer , Notebook Computer Netbook , Tablet หรือ Smartphone